วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ไดแอก ( DIAC )

ไดแอก ( DIAC )
ไดแอก ( Diac ) จัดเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำประเภทไธริสเตอร์เช่นเดียวกับ SCR และไตรแอก แต่แตกต่างจาก SCR และไตรแอกตรงโครงสร้างและขาต่อใช้งาน ไดแอกมีขาต่อใช้งาน 2 ขา สามารถนำไปใช้งานกับแรงดันไฟสลับ แรงดันไฟสลับผ่านตัวไดแอกได้ทั้งช่วงบวกและช่วงลบ ไดแอกถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นอุปกรณ์จำพวกตัวกระตุ้น ( Trigger ) นิยมนำไปใช้งานร่วมกับไตรแอกโดยต่อรวมกับขาเกตของไตรแอก ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์กระตุ้นการทำงาน
ไดแอกจัดเป็นอุปกรณ์ใช้ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงาน นำไปใช้งานร่วมกับไตรแอกหรือ SCR โดยต่อเป็นตัวกระตุ้นเข้าที่ขา G ของไตรแอกหรือ SCR ช่วยป้องกันแรงดันกระโชกจำนวนมากที่อาจทำให้ขา G ของไตรแอกหรือ SCR ชำรุดเสียหาย โครงสร้างของไดแอกประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำตอนใหญ่ 3 ตอน คือ PNP และสารกึ่งตัวนำตอนใหญ่มีสารกึ่งตัวนำย่อยชนิด N อีก 2 ตอน ต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด P ทั้ง 2 ด้าน มีขาต่อออกมาใช้งาน 2 ขา คือขาแอโนด 1 ( A1 ) หรืออาจะเรียกว่า ขาเมน เมอร์มินอล ( MT1 ) และขาแอโนด 2 ( A2 ) หรือขาเมนเทอร์มินอล 2 ( MT2 ) โครงสร้างและสัญลักษณ์ของไดแอก แสดงดังรูป

จากรูป (ก) เป็นโครงสร้างเบื้องต้นของไดแอก พิจารณาโครงสร้างแล้วเห็นได้ว่าคล้ายโครงสร้างของไตรแอก คือประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำตอนใหญ่ 3 ตอน PNP และมีสารกึ่งตัวนำตอนย่อยชนิด N อีก 2 ตอนต่อกับสาร P ตอนใหญ่ทั้ง 2 ตอน ส่วนที่หายไปคือส่วนของขาเกต ไม่มี และต่อขาออกมาใช้งานเพียง 2 ขา ขาทั้งสองของไดแอกต่ออยู่กับสารชนิด P และชนิด N ทำให้สามารถทำงานได้กับแรงดันไฟสลับ ไม่ว่าจะจ่ายบวกหรือจ่ายลบให้ขาทั้งสอง ไดแอกสามารถนำกระแสได้เหมือนกัน จากโครงสร้างที่คล้ายกับไตรแอก จึงทำให้สัญลักษณ์ของไดแอกคล้ายไตรแอก คือเป็นรูปสามเหลี่ยม 2 รูปต่อหันหัวกลับทางกัน แสดงดังรูป (ข) เพียงแต่ไม่มีขา G ต่ออกมาเท่านั้น
จากโครงสร้างและสัญลักษณ์ของไดแอก จึงกล่าวได้ว่าไดแอกมีวงจรสมมูลคล้ายกับไตรแอก หรือคล้ายกับ SCR สองตัวต่อขนานกันแบบหันหับกลับทางกัน โดยตัดขาเกตไม่ต่อออกมาใช้งาน ลักษณะโครงสร้างและวงจรสมมูล แสดงดังรูป

ไดแอก ( DIAC )
การจ่ายแรงดันและการทำงานของไดแอก
กราฟคุณสมบัติของไดแอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น